บริษัทได้ปฏิบัติตามหลักการของการกำกับดูแลกิจการที่ดี และได้พิจารณาการนำหลักปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 หรือ Corporate Governance Code (CG Code) ที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร โดยคณะกรรมการได้พิจารณาและตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในฐานะผู้นำขององค์กร (Governing Board) โดยได้พิจารณาหลักปฏิบัติดังกล่าวอย่างละเอียดรอบคอบและเข้าใจถึงประโยชน์และความสำคัญของการนำ CG Code ไปใช้เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่กิจการ โดยได้มีการจัดแบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 5 หมวด ตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากการกำกับดูแลกิจการที่ดี จะช่วยให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นสร้างความสามารถในการแข่งขันระยะยาวกับบริษัทอื่นๆได้ โดยมีรายละเอียดแต่ละข้อดังนี้
 |
หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น
บริษัท ให้ความสำคัญสิทธิของผู้ถือหุ้น จึงได้กำหนดแนวทางดำเนินการต่างๆเพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ถือหุ้นได้รับการคุ้มครองสิทธิ ขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ การซื้อขายหรือโอนหุ้น การได้รับข้อมูลของบริษัทอย่างเพียงพอ การเข้าร่วมการประชุม ผู้ถือหุ้นรวมถึง การใช้สิทธิลงคะแนนในเรื่องที่สำคัญๆของบริษัท และการมีส่วนแบ่งในกำไร เป็นต้น ดังนี้
- จัดส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นและเอกสารประกอบให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าอย่างครบถ้วน โดยหนังสือเชิญประชุม มีรายละเอียดระเบียบวาระการประชุม เอกสารประกอบระเบียบวาระต่างๆ พร้อมความเห็นของคณะกรรมการบริษัท หนังสือ มอบฉันทะทุกแบบตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด และรายชื่อของกรรมการอิสระ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกที่จะมอบฉันทะ ให้เข้าประชุมแทนได้ รวมทั้งแผนที่แสดงสถานที่ประชุม ซึ่งในหนังสือเชิญประชุมจะแจ้งรายละเอียดของเอกสารที่ผู้ถือหุ้นจะ ต้องนำมาแสดงในวันประชุมด้วย เพื่อรักษาสิทธิในการเข้าประชุม รวมถึงข้อบังคับบริษัทเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น และการ ออกเสียงลงคะแนน นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับระเบียบวาระการประชุมของแต่ละครั้งได้ทางเว็บไซต์ ของบริษัทเป็นการล่วงหน้าก่อนได้รับเอกสารการประชุมด้วย ซึ่งบริษัทได้เปิดให้ผู้ถือหุ้นลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนการประชุมอย่าง น้อยหนึ่งชั่วโมง
- ก่อนเริ่มการประชุมทุกครั้ง ประธานกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการ จะชี้แจงวิธีการลงคะแนนและ นับคะแนนตามที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในข้อบังคับของบริษัท โดยบริษัทได้ดำเนินการนับคะแนนเสียงของ ผู้ถือหุ้นที่ออกเสียง ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียงมาหักออกจากจำนวนเสียงทั้งหมดที่เข้าร่วมประชุม ส่วนที่เหลือจะถือว่าเป็นคะแนนเสียงที่ลงคะแนน เห็นด้วยในระเบียบวาระนั้นๆ และแสดงผลสรุปของคะแนนเสียงทุกระเบียบวาระอย่างชัดเจนในห้องประชุม ซึ่งบริษัทจะจัดแยก การลงคะแนนเสียงสำหรับแต่ละเรื่องอย่างชัดเจน เพื่อรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นด้วย
- ประธานกรรมการจัดสรรเวลาการประชุมอย่างเพียงพอ และดำเนินการประชุมอย่างเหมาะสมและโปร่งใส โดยในระหว่าง การประชุม จะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้แสดงความคิดเห็นและซักถามอย่างทั่วถึง ก่อนจะให้ลงคะแนนและสรุปมติที่ประชุมของ แต่ละระเบียบวาระ
- ให้สิทธิผู้ถือหุ้นที่มาร่วมประชุมผู้ถือหุ้นภายหลังเริ่มการประชุมแล้ว มีสิทธิออกเสียงหรือลงคะแนนในระเบียบวาระที่อยู่ระหว่าง การพิจารณาและยังไม่ได้ลงมติ
- กรรมการทุกคนเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้น โดยกรรมการที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการเฉพาะเรื่องต่างๆ จะร่วมชี้แจง รายละเอียดที่เกี่ยวข้องของระเบียบวาระต่างๆ รวมถึงตอบข้อซักถามของผู้ถือหุ้น (ถ้ามี)
- เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ ผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ สื่อหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งเว็บไซต์ ของบริษัท
- จัดให้มีช่องทางที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถติดต่อขอข้อมูลได้โดยตรงทาง E-mail Address ของบริษัท นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้น รายย่อยยังสามารถติดต่อขอข้อมูลโดยตรงจากเลขานุการหรือหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัท
- เปิดเผยโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทย่อยอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจว่ามีโครงสร้างการดำเนินงานที่มีความโปร่งใสและ ตรวจสอบได้
- ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนแก่องค์กร เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม
|
 |
หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
บริษัท ให้ความสำคัญและดูแลให้มีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรมโดยได้ดำเนินการต่างๆ ดังต่อไปนี้
- เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอเพิ่มระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้นได้ล่วงหน้าก่อนการประชุม ซึ่งได้ประกาศแจ้งให้ทราบ โดยทั่วกันผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยล่วงหน้าก่อนการประชุม รวมทั้งได้แจ้งให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ใน การพิจารณาว่าจะรับเรื่องที่เสนอมานั้นอย่างชัดเจน โดยได้เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทด้วย
- เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับเลือกเป็นกรรมการ ซึ่งผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ตามข้อสรุปคุณสมบัติกรรมการบริษัท และต้องให้ความยินยอมในการเสนอชื่อด้วย เพื่อบริษัทจะได้ดำเนินการตามกระบวน การสรรหาของบริษัท ต่อไป ซึ่งบริษัทได้ประกาศแจ้งการรับเสนอชื่อรวมถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ ผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยล่วงหน้าก่อนการประชุม โดยได้เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทด้วย ทั้งนี้ การคัดเลือกกรรมการในที่ประชุม บริษัทจัดให้มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล
- ดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นตามลำดับระเบียบวาระที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุมเสมอ และมีนโยบายที่จะไม่เพิ่มระเบียบวาระ ในที่ประชุมโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสศึกษาข้อมูลประกอบระเบียบวาระก่อนตัดสินใจ
- เสนอรายชื่อของกรรมการอิสระในหนังสือมอบฉันทะ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดการลงคะแนนเสียงได้เอง รวมทั้งเป็นทาง เลือกในการมอบฉันทะ และมีโอกาสสามารถเลือกการมอบแก่กรรมการอิสระคนใดคนหนึ่ง
- ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้บัตรลงคะแนนเสียงสำหรับทุกระเบียบวาระ โดยจัดทำบัตรลงคะแนนแยกตามเรื่องที่สำคัญๆ เพื่อให้ ผู้ถือหุ้นสามารถลงคะแนนได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งจะมีการเก็บบัตรลงคะแนนดังกล่าวในห้องประชุม เพื่อนำผลคะแนนมารวม คำนวณกับคะแนนเสียงที่ได้ลงไว้ล่วงหน้าในหนังสือมอบฉันทะ ก่อนที่จะประกาศแจ้งมติของคะแนนเสียงในห้องประชุม และเพื่อ ความโปร่งใส บริษัท จะจัดเก็บบัตรลงคะแนนจากผู้ถือหุ้นเพื่อการตรวจสอบในภายหลัง
- บันทึกรายงานการประชุมอย่างถูกต้องครบถ้วน จัดส่งรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. แล้วหลังการประชุมเสร็จสิ้น ภายใน 14 วัน โดยเผยแพร่รายงานดังกล่าวไว้บนเว็บไซต์ของบริษัท
- คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในโดยมิชอบ (Insider Trading) ของบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่ง หมายถึง คณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท และพนักงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล (รวมทั้งคู่สมรสและบุตรที่ ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว)
นอกจากนี้ ในกรณีที่กรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงมีการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท ต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการให้สำนักงาน ก.ล.ต.ทราบเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนต่อไป |
 |
หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัท ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยการบริหารจัดการหรือการ
ดำเนินธุรกิจของบริษัทไม่ว่าในเรื่องใดๆ จะต้องไม่กระทบสิทธิหรือสร้างความเสียหายต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง และกรณีที่เกิด
ความเสียหาย บริษัทจะเป็นผู้กำหนดมาตรการที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย
บริษัท ได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผู้ถือหุ้น : |
นอกจากสิทธิขั้นพื้นฐาน สิทธิที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับบริษัท สิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้นและ ออกเสียงลงคะแนน สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระในที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงสิทธิที่จะได้รับ ผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมแล้ว บริษัทยังได้ให้สิทธิผู้ถือหุ้นในการเสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนิน ธุรกิจของบริษัทในฐานะเจ้าของบริษัทผ่านกรรมการอิสระของบริษัท โดยทุกๆข้อคิดเห็นจะได้รับการกลั่นกรอง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป |
พนักงาน : |
บริษัทถือว่าพนักงาน คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สำคัญยิ่ง และยังคงดำเนินการพัฒนาพนักงานทุกระดับให้มีขีด ความสามารถในการรองรับนโยบายในการขยายธุรกิจ นอกจากนี้ บริษัทยังคงมุ่งเน้นการดูแลให้พนักงาน ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข โดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ปลอดภัย ทันสมัย ดูแลสวัสดิการทั้ง ด้านสุขภาพ และนันทนาการต่างๆอย่างเหมาะสม |
คู่ค้า : |
บริษัทมีการซื้อสินค้าและบริการจากคู่ค้าเป็นไปตามเงื่อนไขทางการค้า รวมถึงการปฏิบัติตามสัญญาต่อคู่ค้า อย่างยุติธรรม |
เจ้าหนี้ : |
บริษัทได้กำหนดเงื่อนไขกับเจ้าหนี้ทุกรายให้เหมาะสมกับสภาวะการดำเนินธุรกิจ และปฏิบัติตามเงื่อนไข การกู้ยืมเงินตามข้อตกลง |
ลูกค้า : |
บริษัทเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อลูกค้า โดยการจัดหาสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน รักษาความลับของลูกค้า และมีหน่วยงานที่ติดต่อกับลูกค้า รวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะและ ข้อคิดเห็นจากลูกค้า |
คู่แข่ง : |
บริษัทประพฤติตามกรอบกติกาการแข่งขันที่ดี หลีกเลี่ยงวิธีการที่ไม่เหมาะสมในการแข่งขัน |
ชุมชน : |
บริษัท มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนและ สังคมทั้งนี้ บริษัท จะปฏิบัติตามข้อกำหนดของ กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ได้รับการดูแลอย่างดี |
ผู้สอบบัญชีอิสระ : |
บริษัทให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชีในการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ อย่างถูกต้องและโปร่งใส |
สังคม : |
บริษัท มุ่งจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพของสังคมด้านต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม การศึกษา การสร้างอาชีพใน ชุมชน ตลอดจนการปฏิบัติตามมาตราฐาน ISO 14000 เป็นต้น |
|
 |
หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
การเปิดเผยสารสนเทศ เป็นหนึ่งในหลักการที่มีความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสาร ที่ต้องแจ้งแก่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และผู้ถือหุ้น ทั้งในด้านของความถูกต้อง ความเพียงพอ ความรวดเร็วและความเท่าเทียมกันของ การให้ข้อมูลแก่ทุกกลุ่ม โดยบริษัทจะเปิดเผยข้อมูลใน www.umspcl.com หรือ สอบถามได้ที่ e-mail : investor@uniquecoal.com โดย คุณโดม ลิ่วลมวิบูลย์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่การเงิน จะคอยดูแลให้ข้อมูลและตอบข้อซักถาม ซึ่งบริษัท จัดให้มีขั้นตอนที่ชัดเจนในการเปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งในกรณีปกติและกรณีเร่งด่วน
สารสนเทศที่สำคัญของบริษัท ประกอบด้วย ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงิน ของปี 2562 (มกราคม - ธันวาคม 2562) โดยเฉพาะในส่วนของงบการเงินนั้น ได้ผ่านการสอบทาน/ตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการ บัญชีที่รับรองทั่วไป และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ/คณะกรรมการบริษัท ก่อนเปิดเผยแก่ผู้ถือหุ้น โดย คณะกรรมการบริษัท ได้เปิดเผยรายงานความรับผิดชอบต่อรายงานทางการเงินเปิดเผยรายการระหว่างกัน บทวิเคราะห์ของ ฝ่ายจัดการ รวมถึง รายงานการกำกับดูแลกิจการที่ดีไว้ในรายงานประจำปี และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1)
ทั้งนี้ข้อมูลต่างๆ ของบริษัท อันได้แก่ รายงานประจำปี , แบบ 56-1, ข้อมูลบริษัท , ผลการดำเนินงานรายไตรมาส ข่าวประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้เปิดเผยแก่สาธารณชน รวมถึง ผู้ถือหุ้น และนักลงทุน โดยจะเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับข้อมูล ข่าวสารได้ทันต่อเหตุการณ์ และได้รับประโยชน์มากที่สุด
บริษัท ตระหนักถึงความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และโปร่งใส ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการกำกับดูแล กิจการที่ดีมาโดยตลอด และมีความมุ่งมั่นที่จะทุ่มเทในการดำเนินการอย่างดีที่สุด |
 |
หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
-
โครงสร้างของคณะกรรมการ
- องค์ประกอบของคณะกรรมการ
คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 6 ท่าน ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดของกิจการ โดยมีองค์ ประกอบของคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย
- กรรมการที่เป็นผู้บริหารและเป็นกรรมการที่มีส่วนได้เสีย จำนวน 2 ท่าน
- กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารและไม่มีส่วนได้เสีย ไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่เป็นกรรมการ หรือผู้บริหาร ของผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือไม่เป็นผู้บริหารหรือตัวแทนผู้ถือหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 4 ท่าน
- การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการและจำนวนบริษัทที่กรรมการแต่ละคนไปดำรงตำแหน่ง
คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการ 6 ท่าน เป็นกรรมการอิสระจำนวน 4 คน หรือกำหนดสัดส่วนของกรรมการ อิสระมีจำนวนมากกว่า 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมดตามมาตรฐานที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ โดยกรรมการ ที่อยู่ในตำแหน่งนานจะสลับผลัดเปลี่ยนออกตามวาระคราวละ 1 ใน 3 และสามารถกลับมาดำรง ตำแหน่งได้
นอกจากนี้ คณะกรรมการยังเห็นชอบให้นำเรื่องจำนวนบริษัทที่กรรมการแต่ละคนดำรงตำแหน่งอยู่มาเป็นส่วน ประกอบ สำคัญในการพิจารณาเลือกตั้งกรรมการ และได้เปิดเผยรายละเอียดข้อมูลการดำรงตำแหน่งของกรรมการแต่ละคนในบริษัทอื่น ไว้ในเอกสารแนบ 1 ของแบบ 56-1 และในรายงานประจำปี รวมทั้งเว็บไซต์ของบริษัทด้วย
- คุณสมบัติของกรรมการอิสระ
บริษัท กำหนดองค์ประกอบคณะกรรมการให้ประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 หรือไม่น้อยกว่า 3 คนเสมอ และได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการอิสระตามกฎระเบียบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีราย ละเอียดดังนี้
- ถือหุ้นไม่เกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจ ควบคุมของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุม ของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง ทั้งนี้ ลักษณะ ต้องห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการ หรือที่ปรึกษาของส่วนราชการซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น รายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท
- ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะที่เป็น บิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตรของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะ ได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท หรือบริษัทย่อย
- ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ บริษัท ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็น ผู้ถือหุ้นที่ มีนัย หรือ ผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ ผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับ การแต่งตั้ง
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจ ควบคุมของบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบ บัญชีของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้น จากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการ เงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจ ควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
- ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ ผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัท หรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็น หุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือน ประจำ หรือถือหุ้นเกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพ อย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย
- ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท
- การแยกตำแหน่งประธานและกรรมการผู้จัดการ รวมทั้งการกำหนดอำนาจหน้าที่
บริษัท กำหนดให้ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการเป็นคนละบุคคลกันเสมอ โดยประธานกรรมการจะเลือกตั้งมา จากกรรมการบริษัท ในขณะที่กรรมการผู้จัดการจะมาจากการสรรหา ประธานกรรมการเป็นผู้นำ และมีส่วนสำคัญในการ ตัดสินใจเรื่องนโยบายของบริษัท ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมคณะกรรมการบริษัท ที่ได้พิจารณาและกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ ร่วมกับฝ่ายจัดการ และเป็นผู้ควบคุมการประชุมคณะกรรมการบริษัทให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการสนับสนุนและ ผลักดันให้กรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการประชุม เช่น การตั้งคำถามที่สำคัญต่างๆ พบปะหารือ ช่วยเหลือแนะนำ สอดส่อง ดูแล และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของฝ่ายจัดการผ่านทางกรรมการผู้จัดการอยู่อย่างสมำ่ เสมอ แต่จะไม่เข้าไปก้าวก่ายในงาน ประจำหรือธุรกิจประจำวัน ที่ฝ่ายจัดการมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบดูแล โดยมีกรรมการผู้จัดการเป็นหัวหน้าของฝ่ายจัดการ คณะกรรมการได้มอบอำนาจให้กรรมการผู้จัดการ หรือผู้รักษาการแทนหรือผู้รับมอบอำนาจเท่านั้น เป็น ผู้ที่มีอำนาจลงนาม ผูกพันแทนบริษัทตามอำนาจที่มอบไว้ กรรมการผู้จัดการได้มอบอำนาจให้กับฝ่ายจัดการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ จะเห็นว่าอำนาจของคณะกรรมการและฝ่ายจัดการได้มี การแบ่งแยกบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนไม่ก้าวก่ายต่อกัน
- เลขานุการบริษัท
บริษัท ได้จัดให้มีเลขานุการบริษัทคือ นางสาวภาษิตา นิลโนรี โดยกำหนดหน้าที่ และความรับผิดชอบดังนี้
- จัดทำและเก็บรักษาเอกสาร
- ทะเบียนกรรมการ
- หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการ รายงานการประชุมคณะกรรมการ และรายงานประจำปีของบริษัท
- หนังสือนัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
- เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหาร
- ติดต่อสื่อสารกับผู้ถือหุ้นและดูแลผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสม
- ติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
-
คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
คณะกรรมการบริษัท ได้จัดให้มีคณะกรรมการเฉพาะเรื่องในด้านต่างๆ เพื่อช่วยศึกษาและกลั่นกรองรายละเอียด และได้กำหนดคุณสมบัติ และขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องไว้อย่างชัดเจนในระเบียบของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องแต่ละคณะ โดยมีสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบด้วยกรรมการอิสระ ซึ่งประธานกรรมการจะไม่เป็นประธานหรือสมาชิกของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องทุกคณะ ซึ่งคณะกรรมการเฉพาะเรื่องจะรายงานผลการประชุมของแต่ละครั้งต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อทราบอย่างสม่ำเสมอ
ปัจจุบัน บริษัท มีคณะกรรมการเฉพาะเรื่องจำนวน 2 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายชื่อ หน้าที่ความรับผิดชอบ และรายงานของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องดังระบุในรายงานประจำปี
-
จรรยาบรรณธุรกิจ
คณะกรรมการบริษัท ได้กำหนดจรรยาบรรณธุรกิจไว้ในการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท เพื่อใช้เป็นวิถีทางชี้นำการดำเนินธุรกิจที่ดี โดยการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเสมอภาคเป็นธรรม ตรวจสอบได้ และเคารพสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งจะสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นและยอมรับในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใสของบริษัท โดยประกอบด้วย 8 หัวข้อ ได้แก่
- ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น
- ความรับผิดชอบต่อพนักงาน
- ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
- ความรับผิดชอบต่อคู่ค้า
- การปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า
- ความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม
- การติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติ
-
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
บริษัท ได้มีนโยบายในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยได้กำหนดมาตรการให้กรรมการ และพนักงานไม่ใช้โอกาสแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน โดยกำหนดเป็นข้อปฏิบัติสำหรับกรรมการ และพนักงานของบริษัท ดังต่อไปนี้
- ห้ามไม่ให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน นำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนในการซื้อขายหุ้นของบริษัท หรือให้ข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นของบริษัท หรือนำข้อมูลภายในของบริษัทในการทำธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัท หรือทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
- หลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวข้องกับตนเองที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท
- หากมีการทำรายการเช่นนั้นเพื่อประโยชน์ของบริษัทให้กระทำรายการนั้นเสมือนทำรายการกับบุคคล ภายนอก ทั้งนี้กรรมการ หรือพนักงาน ที่มีส่วนได้เสียในรายการนั้น จะต้องไม่มีส่วนในการพิจารณาอนุมัติ
- หากบริษัท มีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว กำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็นชอบในธุรกรรมดังกล่าว
ทั้งนี้ รายการที่เกี่ยวโยงกันจะได้รับการพิจารณาจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ถึงความเหมาะสมของรายการ และคณะกรรมการตรวจสอบจะให้ความเห็นชอบในการเปิดเผยข้อมูลในแบบ 56-1 และรายงานประจำปี รวมถึงเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของบริษัทด้วย
-
การประชุมคณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดวันประชุมเองเป็นการล่วงหน้าแต่ละปี และมีการกำหนดระเบียบวาระประจำของแต่ละไตรมาสไว้ ชัดเจน ส่วนระเบียบวาระที่นอกเหนือจากนี้ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการจะร่วมกันพิจารณาตามความสำคัญและจำเป็น อย่างไรก็ดี กรรมการแต่ละคนก็สามารถเสนอเรื่องต่างๆ ได้ การประชุมคณะกรรมการบริษัท ปี 2562 มีการประชุมทั้งสิ้น 4 ครั้ง ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัท ได้รับหนังสือเชิญประชุม รายงานการประชุมและข้อมูลประกอบระเบียบวาระการประชุม เพื่อพิจารณาล่วงหน้า ก่อนการประชุมเสมอ
ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการบริษัท ตามปกติแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งเลขานุการบริษัท เข้าร่วมการประชุม ด้วยทุกครั้ง โดยเป็นผู้บันทึกรายงานการประชุม และจัดเก็บข้อมูล หรือเอกสารเกี่ยวกับการประชุมอย่างถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งให้ คำแนะนำในด้านกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครอบคลุมสาระสำคัญต่างๆ อย่างครบถ้วน และเป็นมติที่เป็นเอกฉันท์ทั้งหมด โดยมี การบันทึกการอภิปรายของที่ประชุม รวมทั้งข้อคิดเห็นของกรรมการไว้อย่างชัดเจน และมีการจัดเก็บรายงานการประชุมคณะกรรมการ บริษัท และเอกสารประกอบอย่างเป็นระบบ มีการรักษาความปลอดภัยอย่างดี โดยปกติคณะกรรมการ บริษัท เข้าร่วมการประชุม ทุก คนทุกครั้ง ยกเว้นแต่มีเหตุจำเป็น ซึ่งหากทราบเป็นการล่วงหน้าก็จะมีหนังสือแจ้งขอลาการประชุมต่อประธานกรรมการหรือรอง ประธานกรรมการเสมอ โดยมีสรุปรายงานการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการบริษัท ปี 2562 (ณ 31 ธันวาคม 2562) ดังนี้
ตารางการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย ปี 2562
ชื่อ-นามสกุล
|
ตำแหน่ง
|
คณะกรรมการบริษัท
|
คณะกรรมการตรวจสอบ
|
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
|
ประชุมผู้ถือหุ้น 2562
|
4 ครั้ง |
4 ครั้ง |
1 ครั้ง |
1 ครั้ง |
1. นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ |
ประธานกรรมการ |
3 / 4 |
|
|
1 / 1 |
2. นายธราธร วงศ์ประศาสตร์ |
รองประธานกรรมการ / กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ / ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
|
4/ 4 |
3 / 4 |
1 / 1 |
- |
3. นายโดม ลิ่วลมวิบูลย์ |
กรรมการ / รักษาการกรรมการผู้จัดการ / กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน |
4 / 4 |
|
1 / 1 |
1 / 1 |
4. นายนิติพัฒน์ อำนาจเถลิงศักดิ์ |
กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบ |
3 / 4 |
3 / 4 |
- |
1 / 1 |
5. นายเอกทิพย์ ทิพย์ภวัง |
กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ |
4 / 4 |
4 / 4 |
- |
1 / 1 |
6. นายสุวิชา พานิชผล |
กรรมการอิสระ / กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน |
- |
|
- |
- |
-
ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร
- ค่าตอบแทนกรรมการ
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 ได้พิจารณาค่าตอบแทนของคณะกรรมการและคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง โดยคำนึง ถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับประเภท ขนาด และความเกี่ยวโยงกับผลการดำเนินงาน รวมถึงความเหมาะสมกับการทำหน้าที่และ ความรับผิดชอบ และได้อนุมัติค่าตอบแทนคณะกรรมการในปี 2562 ให้เหมือนกับปี 2561 เพื่อให้เหมาะสมกับผลการดำเนิน งานของบริษัท โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ค่าตอบแทนประธานกรรมการและกรรมการบริษัทที่ไม่เป็นผู้บริหาร เดือนละ 16,000 บาทต่อท่าน และ ค่าเบี้ยประชุม
กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 12,000 บาทต่อครั้งต่อท่าน
- ค่าเบี้ยประชุมกรรมการตรวจสอบ 12,000 บาทต่อครั้งต่อท่าน
- ค่าเบี้ยประชุมกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน 6,000 บาทต่อครั้งต่อท่าน
- ประธานของแต่ละคณะกรรมการจะได้รับค่าเบี้ยประชุม 1.2 เท่าของค่าเบี้ยประชุมแต่ละครั้ง ซึ่งค่าเบี้ยประชุมดังกล่าว จะจ่ายเฉพาะผู้เข้าร่วมประชุมเท่านั้น
- ค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทย่อย
บริษัทย่อยที่บริษัทจัดตั้งขึ้น หรือที่บริษัทเข้าร่วมลงทุนโดยการถือหุ้นทางตรง เพื่อให้เป็นกลไกในการดำเนินกิจการถ่านหิน หรือกิจการที่เกี่ยวข้อง และเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท ตามเงื่อนไขทางธุรกิจต่างๆถือเป็นสถานที่เก็บรวบรวมทรัพย์สิน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายหรือเงื่อนไขการลงทุนนั้น บริษัทย่อยต่างๆจะมีกรรมการบริษัทน้อยที่สุด เช่น จะมีเพียงกรรมการผู้จัดการของบริษัท กับผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบโดยตรง ในความสำเร็จของโครงการลงทุนนั้นๆ ตามนโยบายและแผนกลยุทธ์ของบริษัท และจะใช้ระเบียบปฏิบัติงานของบริษัทเป็นหลัก ซึ่งเป็นรูปแบบและวิธีการบริหาร ทรัพย์สินเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท ดังนั้น กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานแทน บริษัทในฐานะกรรมการบริษัทย่อย จะไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเพราะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน ซึ่งได้กำหนดไว้อย่าง ชัดเจนในการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทด้วย
- ค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการ
ค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการ มีการกำหนดอย่างเหมาะสมด้วยความชัดเจนและโปร่งใส โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะเป็นผู้พิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการ โดยพิจารณาจากความเหมาะสมตามภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ และเชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมติ
- ค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูง
กรรมการผู้จัดการจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดอัตราค่าตอบแทนรายบุคคล ในการปรับเงินเดือนประจำปีของผู้บริหารระดับสูง โดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานรายบุคคลและผลการดำเนินงานของบริษัท นอกจากนี้ ยังพิจารณาประกอบกับผลการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าของแต่ละสายงานด้วย
บริษัท ได้เปิดเผยค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงโดยรวมเป็นประจำไว้ใน 56-1 นอกจากนี้ ได้เปิดเผยการถือครองหลักทรัพย์ฯ เป็นรายบุคคล เพื่อความโปร่งใส และเป็นการเสริมสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทด้วย
-
การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร
คณะกรรมการบริษัท มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยได้เข้าร่วมการสัมมนา/อบรม/ประชุมกับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และนำความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์กับบริษัทต่อไป
นโยบายในการพัฒนาพนักงาน
บริษัท ได้สนับสนุนให้พนักงานได้มีการอบรมเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องของการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติ งานให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งบริษัทยังเล็งเห็นถึงความปลอดภัยของพนักงานในการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ บริษัทได้ส่งพนักงานเข้า ร่วมอบรมปฏิบัติการฝึกซ้อมดับเพลิงและการอพยพหนีไฟ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2562
บทบาทการเป็นหุ้นส่วนทางกลยุทธ์
ทรัพยากรมนุษย์ต้องเรียนรู้และเข้าใจงานของหน่วยงานหลักและต้องมีความรู้ในธุรกิจขององค์กรเป็นอย่างดีซึ่งในปัจจุบันเรียกว่าการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ อีกทั้งต้องสามารถระบุให้ชัดว่ากิจกรรมทางด้านทรัพยากรมนุษย์ก่อให้เกิดประโยชน์หรือผลตอบแทนอย่างไรต่อองค์กร
บทบาทการเป็นผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน
งานของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ จำเป็นจะต้องมีทั้งบทบาทการบริหาร และการบริการต่อพนักงาน ซึ่งงานบริการพนักงานถือเป็นงานประจำ เช่น งานสรรหาว่าจ้าง ทำเงินเดือน ประวัติพนักงาน ฝึกอบรม ประเมินผลการปฏิบัติงาน ดังนั้น ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จำเป็นต้องพยายามหาวิธีการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงาน การบริหารงาน เพื่อให้ได้งานที่มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ เพื่อทำงานให้รวดเร็ว ลดแรงงานที่ไม่จำเป็นในบริษัทลง ซึ่งจะได้ผลลัพท์ปลายทางของงานทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ กะทัดรัด คุณภาพสูง ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำ
บทบาทการเป็นผู้สนับสนุนพนักงาน
ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ จำเป็นต้องจัดผลตอบแทนหรือสวัสดิการที่แข่งขันได้ และการมีเส้นทางอาชีพและการอบรมการพัฒนาเป็นพิเศษ เวลาทำงานที่ยืดหยุ่น รวมทั้งกิจกรรม CSR ที่บริษัทต่างๆ ที่นำมาใช้ในการจูงใจพนักงาน และต้องมีความเข้าใจ กลุ่ม Generation ต่างๆ ในบริษัท
บทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ธรรมชาติของบุคลากรในองค์กรในช่วงสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงมาก เช่น การเข้างานใหม่ การลาออก การโยกย้าย การปรับตำแหน่ง เป็นต้น ดังนั้นการกำหนดหลักเกณฑ์ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จึงมีการวางระบบเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นเรื่องที่นักทรัพยากรมนุษย์ต้องมีความเชี่ยวชาญและเข้าใจธรรมชาติดังกล่าว อีกทั้งการทำตัวเสมือนผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ การนำระบบการบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่มาใช้ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน (ในบางกรณีที่ไม่จำเป็นซึ่งสามารถลดขั้นตอนได้)
นอกจากนั้น บริษัท ได้มีการปรับปรุง และจัดให้มีสวัสดิการที่ดี ให้เหมาะสมกับพนักงาน และผลประโยชน์พิเศษแก่พนักงานในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ใช่ตัวเงิน และผลตอบแทนอื่นๆสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้
- สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล บริษัท ได้อำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน ได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วย ให้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลได้โดยไม่ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน เพื่อให้พนักงานทุกคนได้รับการรักษาที่ดีในยามเจ็บป่วย และ ยังปรับปรุงวงเงิน ค่ารักษาพยาบาลให้กับพนักงานเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในบริษัท
- จัดให้มีผลประโยชน์ในรูปเงินช่วยเหลือกรณีที่บุคคลในครอบครัว(ได้แก่บิดา-มารดา, สามี-ภรรยา และ บุตรอันชอบด้วยกฎหมาย) เสียชีวิต
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานเกิดการออม โดยบริษัทจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงานอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อให้พนักงานได้มีเงินใช้จ่ายเมื่อพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน
- รางวัลอายุงานนาน สำหรับพนักงานที่ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี , 15 ปี , 20 ปี และ 25 ปี บริษัทจะจัดของที่ระลึกและใบประกาศนียบัตร เพื่อเป็นการแสดงความชื่นชมและขอบคุณจากบริษัท ให้กับพนักงาน
- การตรวจสุขภาพทั่วไปประจำปีของพนักงาน
|